การดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ชื่อวิทยาศาสตร์ -
วงศ์ PUNICACEAE
ชื่ออื่น ๆ พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (ภาคเหนือ)
ลักษณะของพืช เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 0.5–5 เมตร กิ่งอ่อน ๆ มักเป็นสี่เหลี่ยมแต่พอแก่จะมน ปลายกิ่งมักมีหนามแหลม ใบมักติดกับลำต้นแบบตรงข้ามเป็นคู่ ใบมีรูปแบบขนานหรือยาวเรียวแคบ ปลายใบและโคนใบอาจมนหรือแหลมก็ได้ ขอบใบเรียบ ผิวเป็นมัน ใบมีขนาดกว้าง 0.5–2.5 ซม. ยาว 1–5 ซม. ดอกออกทั้งเดี่ยวหรือเป็นช่อ 2–5 ดอกก็ได้ ดอกมีทั้งสีขาว สีแดง และแดงส้ม ผลกลมใหญ่ขนาด 5–12 ซม. มีหลายสีทั้งสีเขียวอมเหลืองไปจนถึงสีน้ำตาลแดง ภายในมีเมล็ดมาก รูปร่างเป็นเหลี่ยมมน ๆ อัดกันแน่นเต็มผล เมล็ดมีทั้งชนิดสีแดง ชมพู และสีเหลืองซีด
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกผลแห้ง และเปลือกลำต้นหรือเปลือกราก
สรรพคุณและวิธีใช้
  1. แก้อาการท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค) ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1 ส่วน 4 ของผล ต้มกับน้ำปูนใสเอาน้ำดื่ม
  2. แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดด้วย) ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครั้งละกำมือ (3–5 กรัม) ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 2 ครั้ง
  3. ถ่ายพยาธิลำไส้ (พยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน) ใช้เปลือกลำต้น หรือเปลือกรากสด ประมาณครึ่งกำมือใหญ่ ๆ (10–15 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้าแล้วรับประทานยาถ่ายตาม
การขยายพันธุ์ ใช้เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ที่นิยมคือวิธีเพาะเมล็ด
สภาพดินฟ้าอากาศ ปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ชอบดินเหนียวปนหิน และชอบอยู่ใกล้แหล่งน้ำต้องการแสงแดดมาก ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ต้นฤดูฝน
การปลูก เตรียมดิน โดยยกร่องสูง 50 ซม. ระหว่างร่องห่างกัน 1 เมตร บนคันดินที่ยกไว้ขุดหลุมเป็นแถวห่างกันหลุมละ 1 เมตร กว้าง ยาวและลึกด้านละ 30 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกคลุกเคล้าดินรองก้นหลุม นำต้นกล้าลงปลูกหลุมละ 1 ต้น กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม
การบำรุงรักษา เมื่อต้นอ่อนควรรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยคอกพอควร อายุ 6 เดือนทับทิมจะแตกพุ่มโดยรอบ อย่าให้ร่มเงาไม้ใหญ่บัง เพราะต้นจะแคระแกรน และไม่ออกดอก ออกผลเลย ฉีดยาป้องกันเพลี้ยไฟ และด้วงในระยะที่ต้นแตกพุ่ม ครั้นเมื่อต้นแก่ควรตัดกิ่งแก่ทิ้ง หรือปลูกแซมต้นเก่าบ้างก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น